วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

HAPPINOMETER ปรอทวัดความสุขด้วยตนเอง


“HAPPINOMITER:ปรอทวัดความสุขด้วยตนเอง” พัฒนามาจากเครื่องมือที่ใช้วัดคุณภาพชีวิตคนทำงาน เป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วยตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตคนทำงานที่พัฒนาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2551 โดย “โครงการวิจัยคุณภาพชีวิตคนทำงานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ” ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นอกจากนี้ยังพัฒนาต่อยอดไปเป็น “เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตข้าราชการ” ภายใต้ “โครงการพัฒนาระบบเงินเดือน ค่าตอบแทน  สิ่งจูงใจ และคุณภาพชีวิตข้าราชการ: การศึกษาเพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตข้าราชการ” ปี 2553 ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.)

ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและความสุขคนทำงานนี้พัฒนาจากวิถีชีวิตของคนทำงานในสถานประกอบภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ และส่วนงานราชการทั่วประเทศ ดังนั้น จึงเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและความสุขที่ใกล้เคียงกับชีวิตและความเป็นอยู่ของคนทำงานในสองภาคดังกล่าวมากที่สุด เหมาะสมอย่างยิ่งในการนำมาใช้เป็นปรอทวัดความสุขด้วยตนเอง หรือ เ รียกว่า HAPPINOMETER

ต่อมา ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะองค์กร (Happy Workplace) ภายใต้สำนักองค์กรสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาเครือข่าย และพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อให้เกิดรูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ อันสามารถเชื่อมโยงไปยังสุขภาวะของบุคลากร ครอบครัว สังคม และชุมชนที่เกี่ยวข้องให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาเครื่องมือในการทำงานอย่างเป็นระบบ รวมทั้งพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับการเติบโต และการขยายตัวในการทำงานของกลุ่มองค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการในอนาคต

ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะองค์กร และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมมือกันพัฒนา ‘แบบสำรวจความสุขด้วยตนเอง: HAPPINOMITER เพื่อเป็นคู่มือและเครื่องมือในการวัดคุณภาพชีวิตและความสุขด้วยตนเองของคนทำงานในองค์กรต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ สามารถนำผลที่ได้มาสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและความสุขของตนเองได้ทันที
อ่านต่อ....ที่ www.happinometer.com

ที่มา: โครงการจับตาสถานการณ์ความสุขของคนทำงานในประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล www.happinometer.com

1 ความคิดเห็น:

  1. เอาทฤษฎีแรงจูงใจของ maslow เข้าเทียบเคียงน่าจะคล้ายๆกัน

    ตอบลบ