วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประกาศแล้ว! ผลสอบ o-net ม.6 2556 ดูคะแนนสอบโอเน็ต ม.6 ได้ที่นี่


ในขณะที่ผลสอบ โอเน็ต ป.6 และ ม.3 ได้ประกาศไปแล้ว ในวันนี้ (27 มีนาคม 2557) ทาง สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศ ผลสอบ O-NET ชั้น ม.6 ปี 2556 แล้ว ซึ่งนักเรียนสามารถดูผลการสอบได้แล้ว ทั้ง ผลการสอบรายบุคคล นอกจากนี้โรงเรียนสามารถดูผลคะแนนสอบรายโรงเรียนได้ ที่เว็บไซต์ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.)

  
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สทศ. โทร 02-217-3800
ทุกวันเว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 8.00 น.-17.00 น.
E-mail:webmaster@niets.or.th

ที่มา: http://www.kruwandee.com/news-id9458.html

ครูสอนผิดทางส่งผลโอเน็ตต่ำซ้ำซาก



"สมพงษ์" จวกครูไม่นำผลโอเน็ตที่ผ่านมาไปปรับปรุงคุณภาพการสอน ส่งผลคะแนนเด็กต่ำซ้ำซาก และคงต่ำลงอีกหลายปี จี้ ศธ.รับผิดชอบเด็กตกโอเน็ต

ตามที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.)ได้ประกาศผลการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานหรือ โอเน็ต ชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2556 ซึ่งผลปรากฏว่านักเรียนทั่วประเทศมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 เกือบทุกวิชายกเว้นวิชาสุขศึกษา ซึ่งสะท้อนว่าควรต้องมีการปรับปรุงการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ นั้น

วันนี้ (28มี.ค.) รศ.ดร.สมพงษ์จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จะอยู่ที่ประมาณ 20-30คะแนนเท่านั้นสะท้อนให้เห็นว่าเด็กไทยอ่อนวิชาการ ทั้ง 3 วิชานี้ที่สุด ทั้งนี้ สาเหตุมาจากเราไม่มีครูที่จบเอกและสอน 3 วิชานี้โดยตรง โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กห่างไกล เพราะเราจะใช้ครูที่จบเอกอื่นสอนแทน ขณะที่ข้อสอบโอเน็ตเป็นการคิดวิเคราะห์แต่โรงเรียนยังเน้นสอนท่องจำจึงเป็นการวัดประเมินผลคนละแบบ

" คะแนนเฉลี่ยวิชาหลักของเด็กไทยไม่ถึงร้อยละ 50 เรียกว่าสอบตกหมดต่อเนื่อง 3-5 ปี และไม่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเด็กที่ทำคะแนนได้ดีจะอยู่ในโรงเรียนสาธิต หรือ โรงเรียนที่สอนแบบเด็กเป็นศูนย์กลางและถ้าการสอนกับการสอบเป็นคนละแนวทางเช่นนี้เราก็จะเห็นเด็กไทยสอบโอเน็ตตกไปอีกหลายปี" รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวและว่า สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าโรงเรียนไม่ได้นำผลโอเน็ตในแต่ละปีไปปรับปรุงการเรียนการสอนของตัวเองสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ประกาศมาตลอดว่าจะปรับการสอนให้เด็กไทยรู้จักคิดวิเคราะห์นั้น ก็แสดงว่าโรงเรียนไม่ได้ปรับวิธีการสอนใดๆทั้งสิ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนการสอบโอเน็ตเราจะเห็นโรงเรียนจัดติวนักเรียน ซึ่งเป็นการติวการวิเคราะห์ เพื่อให้เด็กจำคำตอบ และไปสอบโอเน็ตจึงถือเป็นการหลงทางครั้งใหญ่ของกระบวนการเรียนการสอนของประเทศ

รศ.ดร.สมพงษ์กล่าวต่อไปว่า ส่วนวิชาที่ได้ 0.00 คะแนน นั้น แสดงว่าเด็กต้องส่งกระดาษคำตอบเปล่าแต่ตนไม่เห็นผู้หลักผู้ใหญ่ใน ศธ. จะตกใจ หรือแสดงความรับผิดชอบใดๆกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะเรื่องนี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าระบบการคุมสอบหย่อนยาน ทั้งครูและผู้บริหารโรงเรียนก็ไม่ได้ชี้แจงให้เด็กทราบถึงผลกระทบจากการที่สอบโอเน็ตตก ทั้งๆที่ศธ.กำหนดให้คะแนนโอเน็ตเป็นส่วนหนึ่งของการจบการศึกษา ดังนั้นแสดงว่าถึงแม้จะสอบโอเน็ตตกก็ยังสอบผ่านใช่หรือไม่ หรือไม่ได้เป็นการสอบตกจริง.

ที่มาของข่าว : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 28 มีนาคม 2557
จาก http://www.kruwandee.com/news-id9474.html

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

17 มารยาทที่ทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพในที่ทำงาน

บิสเนซอินไซเดอร์ (BusinessInsider) ตีพิมพ์เรื่อง '17 Essential Office Etiquette Tips' = "17 เคล็ดลับ (ทิปส์) กฎ-กติกา-มารยาทดี (ที่จำเป็น) ในที่ทำงาน" 

ที่ทำงานก็คล้ายกับกีฬาที่จะต้องมี "กฎ_กติกา_มารยาท" หลายอย่างที่ถือกันว่า จะทำให้คนทำงานอยู่ร่วมกันได้อย่าง "มืออาชีพ" อ.แคตเตอรีน เพาเมียร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการรับสมัครงานจาก Adam Personnel, และ อ.ไลอิดไมลา บลอช ผู้เชี่ยวชาญด้าน "กฎ_กติกา_มารยาท" ในที่ทำงานกล่าวว่า "คนที่เป็นมืออาชีพ และเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงานมักจะมีลักษณะสำคัญ 17 ประการ" ได้แก่

(1). ไม่ขัดคอ หรือพูดแทรกตอนคนอื่นพูด
การรู้จักรอให้คนอื่นพูดจบประโยค หรือจบเรื่องก่อนมักจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกดีกับคุณ

(2). ไม่พูดไร้สาระมากเกิน
การพูดเพ้อเจ้อ หรือพูดคุยกับคนโน้นคนนี้ไปเรื่อยทำให้ลูกค้า หรือคนที่มาใช้บริการรู้สึกว่า คนให้บริการไม่ค่อยสนใจลูกค้า... ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่อยากเป็นฝ่ายพูดมากกว่า และอยากให้ "มืออาชีพ" เป็นฝ่ายฟังมากขึ้น

(3). ไม่พูดดัง
การพูดเสียงดังในที่ทำงานบ่งชี้ถึงความ "ไม่เกรงใจ" คนรอบข้าง และ "ไม่เกรงใจ" ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการ **วิธีที่น่าจะดี คือ พูดให้ดังพอที่คู่สนทนาจะได้ยิน ไม่ดังไปไกลกว่านั้น เพราะคนอื่นจะรู้สึกว่า คุณกำลังก้าวร้าว รุกล้ำเข้าไปในขอบเขตส่วนตัว (personal space)

(4). ไม่กินอาหารกลิ่นแรง
อาหารกลิ่นแรง เช่น ทุเรียน ฯลฯ เป็นของต้องห้ามสำหรับการทำงาน "ข้ามวัฒนธรรม" หรือสถานที่ที่มีคนต่างชาติ ต่างภาษาทำงานอยู่ด้วย ถ้าอยากจะทานจริงๆ... คงต้องออกไปนอกอาคาร กินกันในที่โล่งแจ้งอะไรทำนองนี้แทน

(5). ไม่ใช้ศัพท์สแลง (ภาษาพูดเล่น ไม่เป็นทางการ) หรือภาษาวิชาการแบบสุดๆ
ถ้าจะส่งจดหมาย หรืออีเมล์ (emails), ขอให้ใช้ภาษาเขียนกลางๆ ที่ดูน่าเชื่อถือเป็นหลัก และหลีกเลี่ยงภาษาสแลง หรือภาษาวิชาการสุดๆ (text-speak) ที่คนส่วนใหญ่อ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือทำให้คนอื่นหมั่นไส้ได้ **จดหมายหรืออีเมล์ ควรเขียนแบบกลางๆ ให้คนส่วนใหญ่ในหน่วยงานอ่านง่าย เช่น ลายมืออ่านออก เข้าใจได้ง่าย ไม่เขียนจนอ่านแล้วปวดหัว ฯลฯ **หน่วยงานหรือคนบางคนในหน่วยงานอาจเก็บจดหมาย หรืออีเมล์ของคุณไว้หลายปี และนั่นอาจเป็นหลักฐานทำร้ายคุณได้ในบางโอกาส

(6). ให้เครดิต
คนเก่งในโลกยุคใหม่ไม่ควรจะเป็น "ฮีโร่" ประเภท "ข้าฯ มาคนเดียว" ทำราวกับว่า ถ้าหน่วยงานขาดข้าฯ แล้วจะล่มสลายไปทันที...ถ้าเป็นโลกยุคหินใหม่, การทำงานแบบ "ข้าฯ มาคนเดียว" ดูจะใช้การได้ดี **ทว่า... "คนเก่งจริง" ในโลกสมัยใหม่จะต้องรู้จักการ "ทำงานเป็นทีม" มากขึ้น ทำให้คุณสมบัติการ "ให้เกียรติการทำดี หรือผลงานคนอื่น (acknowledging) เป็นเรื่องสำคัญ **วิธีฝึกให้เกียรติคนอื่นง่ายๆ คือ กล่าวคำ "ขอบคุณ-ขอบใจ" คนรอบข้างให้เป็น... อย่างน้อย 1 วันต้องชมคนอื่นในที่ทำงานให้ได้สัก 1 คน และเมื่อเห็นคนอื่นทำดี... ขอให้ฝึกชม 2 ครั้ง โดยชมต่อหน้า 1 ครั้ง, ชมลับหลัง 1 ครั้ง เพื่อให้กำลังใจคนทำดี **การดูประเทศหรือชาติต่างๆ ว่า เจริญไปถึงไหน หรือไปไม่ถึงไหน, ท่านว่า ให้ดูว่า คนในชาตินั้นชื่นชอบ "คนได้ดี (เช่น รวย มีลาภ_ยศ_สรรเสริญ_สุข ฯลฯ)" หรือ "คนทำดี (่เช่น คนที่ดูแลคุณแม่คุณพ่อดี ฯลฯ)" **ชาติที่เจริญมักจะชื่นชม "คนทำดี" มากกว่า "คนได้ดี", ชาติที่ล้าหลังมักจะชื่นชม "คนได้ดี" มากกว่า "คนทำดี" **เพราะการชื่นชม "คนทำดี" จะทำให้คนอื่นพลอยทำดีตาม คล้ายแสงที่เกิดจากการจุดเทียนไปเป็นทอดๆ จนเกิดเป็น "คลื่นของการทำดี (Doing good wave)" แพร่กระจายไปทั่ว

(7). ไม่ใช้น้ำหอมกลิ่นแรง และไม่ทำตัวเหม็นด้วย
การหลีกเลี่ยงน้ำหอมกลิ่นแรง โดยเฉพาะที่ทำงานติดแอร์ จะช่วยลดการรบกวนเพื่อนร่วมงาน และตรงกันข้าม... อย่าทำตัวเหม็น เช่น ไปไหน_กลิ่นบุหรี่หรือกลิ่นรักแร้ไปถึงนั่น ฯลฯ **มีหมอท่านหนึ่งกินกระเทียมเข้าไป ห้องตรวจก็ร้อนจนเหงื่อแตก แล้วรู้สึกว่า คนไข้รายที่ 1 กลิ่นตัวแรง, รายที่ 2-3-4 ก็กลิ่นตัวแรง, กว่าจะรู้ตัวว่า กลิ่นที่แรงจริงๆ มาจากตัวหมอก็ตรวจคนไข้ไป 5 รายแล้ว (ไม่ได้ว่าใคร ผู้เขียนนี่เอง) **นี่ก็เป็นข้อควรระวังที่ว่า วันไหนเป็นวันทำงาน... อย่ากินอาหารที่ทำให้กลิ่นตัวแรง

(8). แต่งกายให้สุภาพ
การศึกษาหนึ่งทำในออสเตรเลียพบว่า คนไข้ส่วนใหญ่ชื่นชอบ และไว้วางใจหมอที่แต่งกายดีมากกว่าหมอที่่แต่งกายไม่ดี **การแต่งกายให้ดูน่าเชื่อถือเป็น 1 ในคุณสมบัติของมืออาชีพ ซึ่งหลายๆ อาชีพทำได้ดีมาก เช่น คุณครู พยาบาล ฯลฯ ทำให้ดูเป็นอาชีพชั้นนำ

(9). อย่าตั้งเสียงมือถือดัง
การทิ้งมือถือไว้ในกระเป๋า หรือล็อคเกอร์ (ตู้เก็บของส่วนตัว) แล้วตัวไปอยู่ที่อื่น หรือตั้งเสียงเตือนมือถือดังมักจะรบกวนคนรอบข้าง **วิธีที่น่าจะดี คือ เลือกเสียงเตือนให้สุภาพ เบาลงหน่อย หรือใช้แบบสั่นแทนเสียง โดยเฉพาะเมื่อเข้าประชุม หรือติดต่อเรื่องสำคัญ

(10). รักษาความสะอาด
หนังสือเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงเล่มหนึ่งกล่าวว่า สุนัข (น้องหมา) มักจะชอบคุ้ยของให้รก กระจายไปทั่ว เพื่อแสดงอาณาเขตการวางของส่วนตัวไว้ในที่ทำงาน ตู้เก็บของ หรือตู้เย็น อาจเป็นเรื่องของการแสดงอาณาเขต หรือความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของอย่างหนึ่ง ทว่า... นั่นเป็นเรื่องที่บอกว่า เรายังไม่ค่อยเป็นมืออาชีพมากเท่าไร **วิธีที่น่าจะดี คือ ทิ้งร่องรอย (ของใช้ ของส่วนตัว ฯลฯ) ไว้ในที่ทำงานให้น้อยที่สุด

(11). ไม่ทำอะไรที่ "ส่วนตัว" เกินไป
สำนักบริการสุขภาพอังกฤษ (NHS) ให้พยาบาลท่านหนึ่งออกจากงาน เนื่องจากห้อยไม้กางเขนไว้นอกเครื่องแบบตลอดเวลา เตือนให้ถอดออกแล้วก็ไม่ฟัง ทาง NHS ให้เหตุผลว่า การทำอะไรเป็น "ส่วนตัว" เกินไป อาจทำให้ผู้มารับบริการ ซึ่งมีศาสนา วัฒนธรรมต่างกันไม่สบายใจ หรืออึดอัดได้
**วิธีที่มืออาชีพทำกัน คือ ทำให้งานเป็นเรื่องส่วนรวม ไม่ทำอะไรที่เป็น "ส่วนตัว" เกินไป

(12). ตรงเวลา
การไปทำงานให้ตรงเวลาเป็นเรื่องของมืออาชีพ และที่สำคัญมาก คือ งานสมัยใหม่มีอะไรที่สำคัญกว่า "เวลา" ด้วย เช่น ไปถึงแล้วต้องทำงานให้มี "ผลงาน" ออกมาเป็นชิ้นเป็นอัน ฯลฯ

(13). ไม่รับสาย-ไม่โทรศัพท์ในที่ทำงาน
มารยาทที่ดี คือ ขออนุญาตคนรอบข้าง แล้วเดินออกไปรับสาย หรือพูดโทรศัพท์ในที่โล่ง นอกที่ทำงาน

(14). ไม่ใส่รองเท้าแตะ
ชาวตะวันตก (ฝรั่ง) มีธรรมเนียมในการสวมรองเท้าให้สุภาพตามลักษณะของงาน คนเอเชียส่วนใหญ่ (ยกเว้นพม่า) ถือว่า ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ หรือรองเท้าสีฉูดฉาดเข้าที่ทำงาน ซึ่งคุณคงต้องปรับให้เข้ากับที่ทำงาน

(15). ไม่สั่งน้ำมูก
ชาวตะวันตก (ฝรั่ง) ถือว่า การสั่งน้ำมูกในที่ทำงานเป็นเรื่องไม่สุภาพ
**วิธีที่ดี คือ ถ้าไม่สบาย เช่น มีน้ำมูก คัดจมูก ฯลฯ ให้กินยาแก้แพ้ หรือยาลดน้ำมูก, สวมหน้ากาก (mask) กันเชื้อโรคแพร่กระจายให้เรียบร้อย และถ้าจะสั่งน้ำมูกก็ควรออกไปในที่โล่ง นอกที่ทำงาน ก่อนสั่งน้ำมูกในกระดาษทิชชู หลังสั่งน้ำมูก... อย่าลืมล้างมือด้วยสบู่ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังคนรอบข้างเสมอ **หนังสือ "สมบัติผู้ดี" สมัยก่อนเขียนไว้ดี คือ "ผู้ดีย่อมไม่ล้วง แคะ แกะ เกาในที่สาธารณะ", นี่ก็เป็นมารยาทที่ดีเช่นกัน

(16). ไม่ลูบผม สบัดผม หรือแต่งหน้าในที่ทำงาน
เรื่องนี้เป็นมารยาทด้วย เนื่องจากชาวตะวันตก (ฝรั่ง) ถือว่า การสบัดผมเป็นเรื่องของการ "ให้ท่า (ดึงดูดความสนใจทางเพศ)" และอย่าลืมเรื่องการแบ่งสรรทรัพยากรด้วย โดยเฉพาะการไม่ใช้ห้องน้ำนานเกินไป เช่น บางคนแต่งหน้าในห้องน้ำ บางคนรีบไปที่ทำงานเพื่อถ่ายหนักตอนเช้า ฯลฯ ทำให้เพื่อนร่วมงานต้องรอเข้าห้องน้ำนาน

(17). ไม่นำโรคติดต่อไปที่ทำงาน
ถ้าคุณป่วยด้วยโรคติดต่อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ ก็ควรจะลาป่วย **หน่วยงานหรือโรงงานก็ลดการแพร่โรคติดต่อได้ด้วยการส่งเสริมการล้างมือด้วยสบู่ก่อนเข้าที่ทำงาน และเตรียมที่ล้างมือ-สบู่ไว้หลายๆ แห่งให้มากพอ เช่น หน้าโรงงานหรือหน่วยงาน หน้าโรงอาหาร หน้าจุดดื่มน้ำ หน้าห้องน้ำ ฯลฯ **ห้องน้ำที่ออกแบบผนังแบบซิกแซก จะช่วยลดการสัมผัสลูกบิดประตู ทำให้โอกาสแพร่เชื้อจาก "มือ-สู่-มือ" ลดลง

ที่มา: http://women.postjung.com/677949.html

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

HAPPINOMETER ปรอทวัดความสุขด้วยตนเอง


“HAPPINOMITER:ปรอทวัดความสุขด้วยตนเอง” พัฒนามาจากเครื่องมือที่ใช้วัดคุณภาพชีวิตคนทำงาน เป็นแบบสอบถามที่ประกอบด้วยตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตคนทำงานที่พัฒนาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2551 โดย “โครงการวิจัยคุณภาพชีวิตคนทำงานในสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ” ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นอกจากนี้ยังพัฒนาต่อยอดไปเป็น “เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตข้าราชการ” ภายใต้ “โครงการพัฒนาระบบเงินเดือน ค่าตอบแทน  สิ่งจูงใจ และคุณภาพชีวิตข้าราชการ: การศึกษาเพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตข้าราชการ” ปี 2553 ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.)

ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและความสุขคนทำงานนี้พัฒนาจากวิถีชีวิตของคนทำงานในสถานประกอบภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ และส่วนงานราชการทั่วประเทศ ดังนั้น จึงเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตและความสุขที่ใกล้เคียงกับชีวิตและความเป็นอยู่ของคนทำงานในสองภาคดังกล่าวมากที่สุด เหมาะสมอย่างยิ่งในการนำมาใช้เป็นปรอทวัดความสุขด้วยตนเอง หรือ เ รียกว่า HAPPINOMETER

ต่อมา ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะองค์กร (Happy Workplace) ภายใต้สำนักองค์กรสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาเครือข่าย และพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อให้เกิดรูปแบบการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ อันสามารถเชื่อมโยงไปยังสุขภาวะของบุคลากร ครอบครัว สังคม และชุมชนที่เกี่ยวข้องให้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาเครื่องมือในการทำงานอย่างเป็นระบบ รวมทั้งพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับการเติบโต และการขยายตัวในการทำงานของกลุ่มองค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการในอนาคต

ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะองค์กร และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ร่วมมือกันพัฒนา ‘แบบสำรวจความสุขด้วยตนเอง: HAPPINOMITER เพื่อเป็นคู่มือและเครื่องมือในการวัดคุณภาพชีวิตและความสุขด้วยตนเองของคนทำงานในองค์กรต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ สามารถนำผลที่ได้มาสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและความสุขของตนเองได้ทันที
อ่านต่อ....ที่ www.happinometer.com

ที่มา: โครงการจับตาสถานการณ์ความสุขของคนทำงานในประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล www.happinometer.com

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม


  ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร งานวิจัย หนังสือหายาก (Thai Digital Collection : TDC)
Full Text
    
  วิทยานิพนธ์ 24 มหาวิทยาลัยของรัฐ
Full Text
    
  วิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
Full Text
    
  ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (CMU e-Theses) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Full Text
    
  สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย Central Library UTCC Thesis Online
Full Text
    
  สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง DCMS
Full Text
    
  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม Knowledge Bank at Sripatum University
Full Text
    
  สำนักทรัพยกรการเรียนรู้คุณหญิงหลง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ PSU e-Thesis Database
Full Text
    
  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Full Text
    
  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
Member
    
  Google ค้นเนื้อหาเต็มๆ จากหนังสือทั้งเก่าและใหม่
Full Text
    
  สืบค้นฐานข้อมูลเอกสารด้วย Book Google ชั้นสูง
Full Text
    
  informaworld
Full Text
    
  Information Research on Web -> IR-Web
Full Text

รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA

รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA 6th edition (ภาษาไทย)
จัดทำโดย คณะทำงานฝ่ายวิชาการ การสัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 3
ดาวน์โหลดไฟล์ คลิกได้เลยค่ะ


การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์งานวิจัย

ความรูู้้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม SPSS for Windows (ชุดที่ 1)
การประมวลผลข้อมูล 
การสร้างรหัสสำหรับตัวแปร
ตัวอย่างการจัดทำคู่มือการลงรหัส 
การใช้ SPSS เพื่อการวิเคราะห์งานวิจัย
     - การกำหนดค่าตัวแปร 
     - การกำหนดชื่อตัวแปร (Name) 
     - การกำหนดประเภท (Type) 
    - การปรับเปลยี่นข้อมูลโดยใช้ compute
    - การทดสอบ t-test แบบกล่มุ ตัวอย่างเป็นอสิระจากกนั 
    - การวิเคราะห์ One - way ANOVA 
    - การวิเคราะห์ Two –Way ANOVA 
    - การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน(Pearson Product Moment Correlation) 
    - การวิเคราะห์ ไค-สแควร์ (Chi - Square) 
(ที่มา: กิตติชัย เจริญชัย, สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)
 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ SPSS
หมายเหตุ: การ Run ข้อมูลทางสถิติ ขอแนะนำให้ใช้ โปรแกรม SPSS Version 19 ซึ่งจะต้องใช้กับโปรแกรม Window  7 เพราะจะง่ายและสะดวกในการนำตารางจากการ Run มา Copy ไว้ในบทที่ 4 และสามารถปรับแก้เป็นภาษาไทย และตัวหนังสือจะไม่เพี้ยน แต่หากใช้ Window 8 นั้น SPSS จะต้อง Version 20 up พอจะแปลงตัวหนังสือ font  ไทยจะเพี้ยนมาก จะเป็นปัญหา เรื่อง Font